การใช้กล้องสำรวจเลเซอร์สแกนสามมิติ (3D Scan) ยี่ห้อฟาโร กับทีมงานผู้มีประสบการณ์สำรวจเก็บข้อมูล Landscape
สกายวอล์ค สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่วัดเขาทำเทียม ณ พุทธมณฑลสุพรรณบุรี ผามังกรบิน เป็นเขตโบราณสถาน เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแลนด์มาร์คสำคัญ เป็นที่ตั้งของพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ หรือหลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปแกะสลักจากหินหน้าผา มีความงดงามทางงานพุทธศิลป์ สูงตระหง่านสวยงาม
SKYWALK สุพรรณบุรี ณ ขณะนี้ ถ้าก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะเป็นสกายวอล์คที่ยาวที่สุดในประเทศไทย การก่อสร้างใช้การเจาะยึดโครงสร้างรับน้ำหนักกับผนังหน้าผา โดยมีความยาวประมาณ 500 เมตร ความสูงเทียบเท่าตึก 12 ชั้น
ทีมวิศวกรออกแบบโครงสร้างพบกับโจทย์ที่ยากและท้าทาย เพราะ SKYWALK แห่งนี้จะออกถูกแบบให้ไม่มีเสารับหนักน้ำที่ตั้งตรงเป็นฐานมาจากด้านพื้นล่างเหมือนทั่วไป เพราะเป็นเรื่องของความโล่งสายตาจากโครงสร้างหลัก แต่จะออกแบบส่วนของการรับน้ำหนัก ให้เป็นขายึดเกาะเข้ากับผนังของภูเขา
โดยการใช้เครื่องเจาะหิน เจาะรูลึกเข้าไปในหน้าผา ทำมุมประมาณ 70องศา เจาะลึก 6เมตร ในชั้นหินที่มีความหนาแน่นสูง การเจาะยึดผนังเพื่อการรับแรง การเจาะหินหน้าผา 1 รูใช้เวลาครึ่งวัน หนึ่งวันทำงานได้ 2 รู ต่อหนึ่งทีมเจาะ หลังจากเจาะรูได้ความลึกตามต้องการแล้ว จะใช้ขาเกาะยึดกับผนังภูเขา โดยการฝังเหล็กข้ออ้อยที่มีความหนา 24มิลลิเมตร จำนวน 6 เส้น ทำให้เกิดการยึดเกาะที่ความปลอดภัยแข็งแรง หลังจากได้ฐานที่มีความแข็งแรงแล้ว จากนั้นวางเหล็กคานเป็นแนวยาวพร้อมกับติดตั้งกระจกนิรภัยที่มีความแข็งแรงสูง เป็นพื้นทางเดิน
กระจกรับน้ำหนัก 400 กิโลกัมต่อตารางเมตร กระจก 1 ช่อง มีพื้นที่ ประมาณ 1 ตารางเมตร รับจำนวนคนยืนได้พร้อมกัน 4-5คน ใน 1 ช่อง ทุกขั้นตอนการก่อสร้างมีการตรวจสอบและคำนวณทางวิศวกรรมให้มีความปลอดภัย และความมั่นคงแข็งแรง
งบประมาณการก่อสร้าง 153 ล้านบาท
เฟสที่ 1 ก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังดำเนินการก่อสร้างในเฟสที่ 2 การก่อสร้างสกายวอล์กแห่งนี้ เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2563 ตามกำหนดจะเสร็จสิ้นประมาณต้นปี 2568 มีความยาวประมาณ 500 เมตร สูง 32 เมตร และมีลิฟต์แก้วความสูง 9 ชั้นให้ประชาชนได้ใช้ขึ้นไปชมทัศนีภาพ
ความท้าทายในงานสำรวจ : ความต้องการของทีมวิศวกรออกแบบ เขาต้องการโปรไฟล์จริงของหน้าผา ซึ่งมีความไม่เรียบ ไม่เหมือนกันแม้แต่ตารางเมตรเดียว ต้องการทราบความโค้งนูนความไม่เรียบของผนังหน้าผาในแต่ละตารางเมตรเพื่อพวกเขาจะได้นำข้อมูลในส่วนของ Contour ผนังหน้าผา ไปออกแบบฐานแผ่นสี่เหลี่ยมสำหรับยึดติดเข้าไปกับผนังหน้าผ้าได้อย่างแน่นและแข็งแรงปลอดภัยที่สุด
การบวนการทำงาน : ทีมงานทีมที่หนึ่งใช้กล้องสำรวจชนิด Total Station หรือเรียกว่ากล้องสำรวจประมวลผล เป็นกล้องสำรวจ สำหรับใช้วัดค่ามุม และค่าระยะ อยู่ในกล้องตัวเดียวกัน ทีมงานเดินเก็บข้อมูลบริเวณพื้นด้านล่างตลอดแนวหน้าผาเพื่อให้ได้ข้อมูลระยะ และค่าระดับของเนินดินบริเวณไซด์งาน
ทีมงานทีมที่สอง เป็นทีมกล้องสำรวจเลเซอร์สแกนสามมิติ (3D Scan) ยี่ห้อฟาโร ทีมงานเป็นทีมผู้มีประสบการณ์สำรวจเก็บข้อมูล Landscape ต่างๆมาหลายงาน จึงทำให้มองออกว่า ระยะความสูงงานที่จะเจาะและติดตั้ง SKYWALK อยู่สูงประมาณ 30เมตรจากพื้นดิน ระยะสแกนที่จะเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนควรตั้งสแกนที่ระยะเท่าใด ตำแหน่งใด เริ่มจากจุดเริ่มต้นทางด้านขวามือของไซด์งาน เริ่มสแกนที่ตำแหน่งแรก Scanning parameter ที่ตั้งเครื่องสแกน เราเลือกที่ Resolution 1/4 เป็น Resolution ที่ส่วนใหญ่ใช้เก็บข้อมูล Landscape เพื่อให้ได้โปรไฟล์ของผนังหน้าผาให้มีความละเอียดของข้อมูล Pointcloud เพียงพอต่อการนำไปทำโมเดลสามมิติ
ทีมสำรวจกล้อง 3D Scan ตั้งกล้องสแกนในแต่ละตำแหน่งกล้องให้ห่างกันประมาณ 20 เมตร เพื่อการเก็บรายละเอียดความเว้าความนูน ความไม่เรียบของผิวผนังหน้าผา ทำการสแกนไปจนขึ้นเนินสูงทางซ้ายมือของไซด์งานบริเวณองค์พระใหญ่ การทำงานทั้งหมดใช้เวลา 7-8ชั่วโมง ตำแหน่งการวางกล้องสแกนทั้งหมด 65 ตำแหน่งในโครงการนี้
หลังจากนั้นนำข้อมูลมาประมวลผลที่ออฟฟิศ เราใช้โปรแกรม FARO SCENE ประมวลผลข้อมูลสำรวจจากกล้องสามมิติ เป็นข้อมูล Pointcloud ได้ข้อมูล Contour ของไซด์งาน ผนังหน้าผา และพื้นทางเดิน export ข้อมูลไปที่โปรแกรม AutoDesk Recap เพื่อแปลงให้เป็น ไฟล์นามสกุล *.rcp เพื่อส่งต่อไปยัง โปรแกรม AutoCAD
ทีมงานได้รับโจทย์เพิ่มเติม : ให้ทำการตัด Section ของโปรไฟล์ผนังหน้าผา ทุกๆ 2 เมตร เพื่อดูข้อมูล Section Surface โปรแกรม AutoCAD ที่ทีมออกแบบใช้ การตัด Section ทำได้แต่ทำได้ค่อนข้างช้าใช้เวลา ทีมสำรวจนำเสนอการทำ การตัด Section ทุกๆ 2เมตรนี้ด้วยโปรแกรม AutoDesk Revit ซึ่งมี feature การตัด Section ด้านต่างๆของข้อมูลสามมิติได้ง่ายกว่า ประหยัดเวลามากกว่า
เทคนิคการทำสำรวจโปรไฟล์หน้าผาหินก่อนการก่อสร้าง ก่อนการติดตั้งด้วยกล้องเลเซอร์สแกนสามมิติ
มีประโยชน์ต่อการวางแผนออกแบบก่อสร้าง การทำ Design review การนำข้อมูลมาทำแบบจำลองก่อนการลงมือทำจริง Simulation เพื่อประหยัดงบประมาณ ของข้อผิดพลาดทางวิศวกรรมที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน ทำให้เรารู้ก่อนและนำมาสู่การปรับเปลี่ยนแบบและแก้ไข
การได้ข้อมูลสามมิติทางกายภาพของไซด์งานมาดูภาพรวม มาทำการบริหารจัดการไซด์งาน ในเรื่องของการติดตั้งนั่งล้าน เรื่องความปลอดภัยต่างๆ ในเรื่องการขนส่ง การจราจรภายในไซด์งานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สกายวอล์ค สุพรรณบุรี มีข้อห้ามและข้อปฏิบัติในการเข้าชม ซึ่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทุกคนและตัวท่านเอง
ทีมงาน3DSurveyService.com ทีมงาน3DScan2BIM.com ทีมงานวาลิด วิชั่น จำกัด 3D Scan Service และ ตัวแทนจำหน่ายกล้องเลเซอร์สแกนฟาโรโฟกัส FARO Authorized Distributor